หน้าเว็บ

ข่าวร้อน

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เส้นทางสู่นายสิบทหารบก


เส้นทางสู่นายสิบทหารบก

การสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก และนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ

          โรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นสถาบันที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพบก มี ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี  โดย 6 เดือนแรกจะเน้นศึกษาวิชาทหารแต่ก็จะมีวิชาการเล็กๆน้อยๆที่ร.ร.นายสิบทหารบก หลังจากนั้นจึงจะให้นักเรียนนายสิบเลือกเหล่าที่ตนเองต้องการศึกษาตามลำดับคะแนนของ 6 เดือนแรก เพื่อแยกศึกษาต่อที่ร.ร.เหล่าใน 6 เดือนหลังและบรรจุหลังจบการศึกษา แบ่งออกเป็นจำนวน  13  เหล่า  ดังนี้
            1. เหล่าทหารราบ                    
            2. เหล่าทหารม้า                    
            3. เหล่าทหารปืนใหญ่
            4. เหล่าทหารช่าง                     
            5. เหล่าทหารสื่อสาร             
            6. เหล่าทหารขนส่ง
            7 เหล่าทหารสรรพาวุธ          
            8. เหล่าทหารพลาธิการ         
            9. เหล่าทหารการเงิน
            10. เหล่าทหารสารวัตร             
            11. เหล่าทหารแพทย์               
            12. เหล่าทหารการสัตว์
            13. เหล่าทหารการข่าว
ประเภทบุคคลที่จะรับสมัคร
          1. บุคคลพลเรือน เพศชาย อายุ 17-22 ปี (รับทั้งผู้เรียนนศท.และไม่เรียนนศท.)
          2. ทหารกองประจำการ (ทุกผลัด) ในสังกัดกองทัพบก (ไม่ต้องรอปลดประจำการ) อายุไม่เกิน 24 ปี
          3. พลทหารประจำการ ( พลอาสาสมัคร ) เพศชาย ในสังกัดกองทัพบก อายุไม่เกิน 24 ปี
          4. อาสาสมัครทหารพราน เพศชาย ในส่วนของกองทัพบก อายุไม่เกิน 24 ปี
คุณสมบัติของผู้สมัคร  
          1. สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6)  สายสามัญ สายอาชีพ หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่กำลังรอผลการศึกษา
          2. เป็นชายไทย  อายุตั้งแต่ 17 ปี ถึง 22 ปี ( ปีที่สมัครลบปีพ.ศ.เกิด )   ไม่รับสมัครผู้ที่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ และผู้ที่ขอผ่อนผันทุกกรณี     ยกเว้นผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3  (รด.ปี 3) ขึ้นไป  ซึ่งต้องมีหลักฐานใบสำคัญ หรือหากเป็นทหารกองหนุนต้องมีใบกองหนุน (สด.8)  หรือ ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (สด.43)  มาแสดงต่อกรรมการรับสมัคร
         3. ทหารกองประจำการ, พลทหารประจำการ (พลอาสาสมัคร) และ อาสาสมัครทหารพราน ในส่วนของกองทัพบก มีอายุไม่เกิน 24 ปี (ถ้าสมัครนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบจะต้องประจำการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
         4. มีสัญชาติไทยและบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
          5. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
          6. เป็นชายโสด ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
          7. ไม่อยู่ในสมณะเพศ
          8. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก  เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ  หรือ ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
          9. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
          10. ไม่เป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
          11 ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกมาก่อน
          12. ต้องได้รับอนุญาตจาก บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
          13. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติดหรือสารเคมีเสพติดให้โทษ   
          14. ต้องว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 25 เมตร
          15. ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจโรค ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด
          16. ไม่เป็นผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการ ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497  ในปีที่สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
พิกัดขนาดร่างกาย
โรคและความพิการที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
            1 ร่างกายผิดปกติ หรือวิกลรูปหรือพิการ
                   1 หน้าผิดรูปจนดูน่าเกลียดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                             - อัมพาตที่หน้า ( Facial paralysis)
                             - เนื้อกระตุก ( Tics)
                             - แผลเป็นหรือปานที่หน้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1.5ตารางนิ้วขึ้นไปหรือมีความยาวมากจนดูน่าเกลียด
                             - เนื้องอก ( Benign neoplasm) ที่หน้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 ซ.ม.ขึ้นไป
                    2 ปากผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น แหว่ง หรือผิดรูปจนพูดไม่ชัด
                    3 ช่องปากผิดรูป หรือผิดปกติจนพูดไม่ชัด
                    4 ซอกคอหรือซอกรักแร้ติดกัน
                    5 แขน หรือ ขา
                               - ยาวไม่เท่ากัน หรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด
                               - โค้งเข้าหรือออก
                               -  ลีบหรือบิดเก
                     6 มือ หรือ เท้า
                               - ลีบหรือบิดเก
                               - เท้าปุก
                      7 นิ้วมือ หรือ นิ้วเท้า
                               - บิดเกและทำงานไม่ถนัด
                               - ด้วนถึงโคนเล็บ
                               - มีจำนวนเกินกว่าหรือน้อยกว่าปกติ
                               - ช่องว่างระหว่างนิ้วหรือนิ้วเท้าติดกัน
                      8 คนเผือก
            2 กระดูกและกล้ามเนื้อ
                      1 ข้อติด ( Ankylosis) หรือหลวมหลุดง่าย
                      2 ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป
                      3 คอเอียงหรือแข็งทื่อจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อพิการ
                      4 กระดูกสันหลังคด หรือโก่ง หรือแอ่นจนเห็นได้ชัด
                      5 กระดูกอักเสบ ( Osteomyelitis )
                      6 กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น ( Atrophy or contracture )              
             3 ผิวหนัง
                       1 โรคผิวหนังเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาหรือเป็นที่น่ารังเกียจ
                       2 แผลเป็น ไฝ ปาน ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีขนาดตั้งแต่ 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้ว ขึ้นไปหรือมากจนดูน่าเกลียด
                       3 มีรอยสักบนส่วนต่างๆของร่างกาย
                       4 เนื้องอกเล็ก ๆ เป็นปุ่ม ๆ ที่ผิวหนังทั้งร่างกาย ( Molluscum  fibrosum )
                       5 ฝังมุก
              4 ตา
                        1 สายตาผิดปกติ แม้เพียงข้างเดียวโดยที่แก้ไขให้เป็น Spherical  Equivalent แล้ว  เกินกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ Spherical Equivalent นั้นมีความหมายว่าในการตรวจสอบสายตานั้น ถือ  สายตาสั้นหรือยาวเป็นสำคัญ ถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วยจะแก้สายตาเอียงนั้นให้เป็นสายตาสั้นหรือยาว คือทำให้เป็น Spherical Equivalent ถ้าแก้สายตาสั้นหรือยาวนั้นมากกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ ก็ถือว่าไม่สามารถเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกได้
                         2 บอดสี
                         3 ตาเหล่ ( Squint ) จนปรากฎชัด
                         4 ลูกตาสั่น ( Nystagmus )
                         5 แก้วตาขุ่น ( Cataract )
                         6 กระจกตาขุ่น ( Opacity of cornea )      
                         7 กระจกตาอักเสบเรื้อรัง ( Chronic interstitial keratitis )
                         8 หนังตาแหว่งจนเสียรูป
                         9 หนังตาตก
                         10 หนังตาม้วนเข้า ( Entropion ) หรือหนังตาม้วนออก ( Ectropion )
                         11 ช่องหนังตา ( Palpebral fissure ) กว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด
                         12 ต้อหิน
            5 หู คอ จมูก
                         1 ใบหูผิดรูปหรือผิดขนาดจนปรากฏชัด
                         2 ช่องหูมีหนองเรื้อรัง
                         3 แก้วหูทะลุ
                         4 การได้ยินเสียงผิดปกติ
                         5 โรคหรือความพิการใด ๆ ที่ทำให้เสียงผิดปกติ
                         6 เพดานโหว่ หรือเพดานสูงจนพูดไม่ชัด              
                         7 จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น บี้ หรือแหว่ง
                         8 ริดสีดวงจมูก ( Nasal polyp
                         9 ต่อมทอลซิลอักเสบเรื้อรังและโตมาก (ในวันตรวจเพื่อรับเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ )
                         10 พูดติดอ่าง
            6 ฟัน
                          1 มีฟันไว้เคี้ยวอาหารได้ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ คือ กำหนดฟันกราม ( Molars )และฟันกรามน้อย ( Premolars )อย่างน้อยข้างบน 6 ซี่ และข้างล่าง 6 ซี่ ฟันหน้า ( Incisors and canines )ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ฟันที่ถอนไปแล้วหากได้รับการใส่เรียบร้อยมั่นคงหรือด้วยวิธีทำสะพาน ( Bridge )จึงให้นับเป็นจำนวนซี่ได้ ฟันตามจำนวนดังกล่าวข้างต้นนั้นจะต้องไม่มีลักษณะดังนี้
                                      - ฟันที่เป็นรูผุที่ไม่ได้รับการอุด หรืออุดด้วยวัตถุที่ไม่ถาวร
                                      - ฟันที่อุดหรือทำครอบไม่เรียบร้อย
                                      - ฟันน้ำนม
                                      - ฟันตาย เว้นแต่คลองประสาทได้รับการอุดที่ถูกต้องแล้ว
                                      - ฟันยาวผิดปกติ หรือขึ้นผิดที่ หรือเกจนไม่สามารถที่จะจัดให้สบกันได้กับฟันธรรมดาหรือฟันปลอม
                                      - มีการทำลายอย่างรุนแรงของอวัยวะที่รองรับตัวฟัน เช่น กระดูก เหงือก   เยื่อหุ้มรากฟัน
                           2 มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าห่างจนดูน่าเกลียด
                           3 การสบของฟันที่ผิดปกติอย่างมากจนทำให้ใบหน้าผิดรูป หรือการเคี้ยวอาหารธรรมดาไม่ได้ผล
                           4 ถุงน้ำ ( Cysts ) การอักเสบที่เรื้อรัง หรือโรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรง หรือพยาธิสภาพอื่นๆ ในปาก เช่น ฟันคุด ฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือฟันที่ขึ้นผิดที่ซึ่งสภาพการเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียงหรือสุขภาพของผู้สมัคร
            7 หัวใจและหลอดเลือด
                            1 หัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital heart disease )
                            2 ลิ้นหัวใจพิการ
                            3 หัวใจวายและมีเลือดคั่ง ( Congestive heart failure )
                            4 การเต้นของหัวใจผิดปกติ เร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที หรือช้ากว่า 50 ครั้ง/นาที
                            5 อนิวริซึมของหลอดเลือดใหญ่
                            6 หลอดเลือดดำขอดที่ขาหรือแขน ซึ่งเป็นมากจนเห็นได้ชัด
            8 ระบบหายใจ
                            1 วัณโรคปอด ( Pulmonary tuberculosis )
                            2 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ( Chronic bronchitis )
                            3 หลอดลมขยายพอง ( Bronchiectasis )
                            4 หืดหลอดลม
                            5 มีน้ำหรือหนอง หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
                            6 หลอดลมอักเสบซึ่งกำลังปรากฏอาการฟังได้ชัดเจน
            9 ระบบทางเดินอาหาร
                           1 ตับแข็ง ( Cirrhosis of liver )
                           2 ฝีที่ตับ ( Abscess of liver)
                           3 ดีซ่าน ( Jaundice )
                           4 ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นได้ชัด
                           5 ฝีคัณฑสูตร ( Perianal abscess )
                           6 ไส้เลื่อน
            10 ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค
                           1 ไตอักเสบเรื้อรัง 
                           2 ไตพองเป็นถุงน้ำ ( Hydronephosis or polycysfic Kidney  )
                           3 ไตพองเป็นถุงหนอง ( Pyonephrosis )
                           4 นิ่วในไตจนทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพอย่างถาวร ( Renal calculus with permanent impairment of renal function )
                           5 กล่อนน้ำ ( Hydrocele )
                           6 หลอดเลือดดำขอดที่ถุงอัณฑะ ( Varicocele )
                           7 กะเทย ( Hermaphrodism )
                           8 กามโรคที่ปรากฏอาการอย่างหนึ่งอย่างใด
            11 ระบบจิตประสาท
                           1 โรคจิต  ( Psychosis  )
                           2 อัมพาต  หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ
                           3 โรคลมชัก  ( Epilepsy )
                           4 ปัญญาอ่อน ( Mental deficiency )
                           5 ใบ้ 
            12  ระบบต่อมไร้ท่อ
                            1 โรคคอพอก  ( Simple goiter  )
                            2 ธัยโรทอกธิโคซิส
                            3 มิกซิเดมา   ( Myxedema )
                            4 เบาหวาน ( Diabetes mellitus )
                            5 โรคอ้วนพี ( Obesity )
            13 โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด ( disease of blood and blood forming organ  ) ผิดปกติอย่างถาวรและอาจเป็นอันตราย
            14 โรคติดเชื้อหรือโรคเกิดจากปาราสิต ( Infectious and parasitic disease )
                            1 โรคเรื้อน
                            2 โรคเท้าช้างที่ปรากฏอาการ
                            3 วัณโรคของอวัยวะอื่น
                            4 โรคคุดทะราด หรือ รองพื้น  ( Yaws )
                            5 โรคติดต่ออันตราย
            15 เนื้องอก
                             1 เนื้องอกไม่ร้าย ( Benign neoplasm ) ที่มีขนาดใหญ่
                             2 เนื้องอกร้าย ( Malignant neoplasm ) ไม่ว่าจะเป็นแก่อวัยวะใด
             16 โรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ
             17 โรคหรือความพิการใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ แต่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าไม่สมควรรับเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
             18 โรคเอดส์
คะแนนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้สมัคร
          1. ผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5
          2. บุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ
          3. บุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน  ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ  ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่  หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่  หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น  ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ  ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน
          4. บุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือสงคราม  หรือ มีการปราบปรามการจลาจล  หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
          5. นักกีฬาทีมชาติ  นักกีฬาทีมเขต (กีฬาแห่งชาติ)       นักกีฬาทีมเยาวชนแห่งชาติ นักกีฬาเขตการศึกษา  นักกีฬาทีมสโมสร ( เฉพาะถ้วย ก. )   และนักกีฬากองทัพบก    ซึ่งออกให้โดย   คณะกรรมการบริหารโอลิมปิกแห่งชาติ    การกีฬาแห่งประเทศไทย    กรมพลศึกษา    สมาคมการกีฬาแต่ละประเภท    หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนากีฬากองทัพบก
          6. ทหารกองประจำการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม  ไม่น้อยกว่า    ๑๒๐  วัน ก่อนวันที่จะสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก
จำนวนที่รับ 
          1. บุคคลพลเรือน 1188 นาย
          2. กองหนุน/พลอาสาสมัคร/ทหารกองประจำการ/อาสาสมัครทหารพราน 792 นาย
          3. นักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ 600 นาย
กำหนดการรับสมัคร  จะเริ่มจำหน่ายระเบียบการประมาณเดือน ธ.ค. และจะเริ่มรับสมัครประมาณปลายเดือน ม.ค. โดยการรับสมัครจะมีคณะกรรมการไปรับสมัครทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ดังนี้
          - กองทัพภาคที่ 3 จ.พิษณุโลก
          - กองทัพภาคที่ 2 จ.นครราชสีมา
          - มทบ.24 จ.อุดรธานี
          - กองทัพภาคที่ 4 จ.นครศรีธรรมราช
          - กรมยุทธศึกษาทหารบก กทม.
วิชาที่สอบ
          - ภาควิชาการ รอบแรกสอบ 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
          - ภาคพลศึกษา รอบที่สอง ได้แก่
                        - ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย (ต้องผ่านเกณฑ์ต่ำสุดทุกสถานี และรวมกันเกิน 50%)
                                    - ดึงข้อ เกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ครั้ง เกณฑ์50% 7 ครั้ง เกณฑ์100% 15 ครั้ง
                                    - ดันพื้น(2นาที) เกณฑ์ขั้นต่ำ 10 ครั้ง เกณฑ์50% 34 ครั้ง เกณฑ์100% 84 ครั้ง
                                    - ลุกนั่ง(30วินาที) เกณฑ์ขั้นต่ำ 11 ครั้ง เกณฑ์50% 21 ครั้ง เกณฑ์100% 38 ครั้ง
                                    - วิ่ง1,000ม. เกณฑ์ขั้นต่ำ 4.45 นาที เกณฑ์50% 4.15 นาที เกณฑ์100% 3.25 นาที
                        - ว่ายน้ำ 25 เมตร ภายใน 2 นาที
                        - ตรวจโรค ประวัติิอาชญากรรม สัมภาษณ์ ความสมบูรณ์ของร่างกาย
สิทธิประโยชน์ของนักเรียนนายสิบทหารบก
          1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนตัว)
          2. ได้รับการแจกจ่ายเครื่องแบบ และเครื่องใช้ส่วนตัว ตลอดการศึกษา
          3. ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 75 บาท (เป็นค่าอาหารที่ร.ร.)
          4. ได้รับเงินเดือน เดือนละ 3,070 บาท
สิทธิเมื่อจบการศึกษา
          1. บรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็น สิบตรี รับเงินเดือนระดับ ป.1 ชั้น 6 จำนวน 6,140 บาท
          2. ผู้มีผลการศึกษาดี มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 และคะแนนรายวิชาไม่ต่ำกว่า 3.00 มีความประพฤติเรียบร้อย คะแนนความประพฤติตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไปถ้านักเรียนผู้นั้นสมัครใจ ให้ได้รับสิทธิ์เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทั้งนี้ จำนวนและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้เป็นไปตามที่กองทัพบกกำหนดหากผู้ได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวสละสิทธิ์ หรือไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ ให้ผู้ที่สอบได้ลำดับรองลงไปที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นได้รับสิทธิ์ในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแทน โดยให้โรงเรียนนายสิบทหารบกเป็นผู้พิจราณาคัดเลือกแล้วรายงานกรมยุทธศึกษาทหารบก (ปัจจุบันคือ 18 นาย) 
          3. เมื่อรับราชการครบ 6 ปี และมีวุฒิปริญญาตรีตามที่กองทัพต้องการ สามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรได้



ข้อมูลดีๆจาก http://www.iqcentre.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น