หน้าเว็บ

ข่าวร้อน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย และอัตนัย


เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย และอัตนัย

เทคนิคการทำข้อสอบปรนัย 
ข้อควรปฏิบัติในการทำข้อสอบทุกครั้ง
   1 อ่านและทำความเข้าใจกับข้อคำถามแต่ละข้ออย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะคำว่า ไม่ใช่ มากที่สุด น้อยที่สุด
   2 อ่านข้อคำตอบที่เป็นตัวเลือกทั้งหมดทุกข้อ ก่อนตัดสินใจเลือกว่าข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากที่สุดเพียงข้อเดียว
   3 ไม่ควรใช้เวลานานกับคำถามข้อใด ข้อหนึ่งโดยเฉพาะถ้าติดขัด ยังคิดไม่ได้ นึกไม่ออก ก็ควรเว้นไว้ก่อน แต่ต้องทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต 
เพื่อกลับมาทำ
   4 ควรตรวจสอบเวลาสอบที่เหลือ และข้อสอบที่ทำ หากเวลาเหลือน้อย แต่ข้อสอบมีเยอะควรรีบทำให้เร็วขึ้นในแต่ละข้อ แต่ถ้าเวลาเหลือเยอะ แต่
ข้อสอบเหลือน้อย ควรใช้เวลาที่เหลือพิจารณาข้อสอบที่ค่อนข้างยากอีกครั้ง
   5 กรณีจำเป็นต้องตอบคำถามในข้อที่ไม่แน่ใจ นักศึกษาควรพิจารณาข้อคำตอบที่เป็นตัวเลือกที่เห็นว่า ไม่ถูก หรือ ผิดอย่างแน่นอน ตัดออกก่อน แล้วพิจารณาข้อคำตอบที่เหลืออย่างรอบคอบ และเลือกข้อคำตอบที่ตรงกับข้อคำถามมากที่สุด
   6 ควรทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ อย่าปล่อยกระดาษคำตอบว่างไว้ ทำไม่ได้ คิดไม่ทัน เมื่อใกล้หมดเวลาก็ให้ฝนคำตอบให้ครบ ถึงแม้จะเป็นการเดาข้อสอบก็ควรทำ (ต้องเป็นกรณีสุดท้ายจริง ๆ)
7 ข้อคำถามที่จำเป็นต้องมีการคิดคำนวณ นักศึกษาสามารถคิดคำนวณ และทดเลขลงในกระดาษคำตอบของแบบทดสอบได้




เทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย 

เป็นข้อสอบที่นิยมใช้วัดพฤติกรรม การเรียนรู้ในระดับสูง เช่น การคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ 
การสังเคราะห์ นักศึกษาจะต้องใช้ความรู้ในหลาย ๆ เรื่อง มาประสมประสานกัน เพื่อตอบประเด็นปัญหาที่ถามให้ได้ความชัดเจน
ลักษณะการตอบข้อสอบอัตนัยที่ดี ดังนี้
   1. ให้เริ่มต้นด้วยประโยคที่เป็นคำตอบที่ตรง และถูกที่สุด
   2. การตอบในย่อหน้าแรกให้เสนอเหตุผลสำคัญที่สุด
   3. การตอบในย่อหน้าต่อมา เป็นเหตุผลรอง
   4. ย่อหน้าต่อมา เป็นเนื้อหาย่อย ๆ 
   5. ควรมีตัวอย่าง ประกอบเหตุผล
   6. ให้ข้อคิด หรือการวิเคราะห์ของตัวเองเสริม
*หมายเหตุ ไม่ควรส่งกระดาษเปล่า ถ้าทำข้อสอบไม่ได้ หรือ ไม่รู้คำตอบจริง ๆ ควรเขียนคำตอบที่ดีที่สุด ที่ตัวเองรู้ลงไปในกระดาษคำตอบ


ข้อควรระวังในการทำข้อสอบอัตนัย
   1. ใช้ปากการเขียนตอบในการทำข้อสอบอัตนัย โดยเขียนคำตอบให้อ่านง่าย ชัดเจน เป็นระเบียบ
   2. อ่านและทำความเข้าใจกับโจทย์ โจทย์ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง มีกี่ประเด็น โดยกำหนดคำตอบเป็นหลักการสำคัญของแต่ละประเด็นก่อน แล้วค่อยเขียนคำตอบพยายามตอบให้ครบถ้วนทุกประเด็น และเมื่อขึ้นประเด็นใหม่ควรย่อหน้าใหม่
   3. เมื่อตอบข้อใหม่ ควรใช้กระดาษคำตอบแผ่นใหม่
   4. ต้องเขียนชื่อ – ชื่อสกุล เลขประจำตัวนักศึกษาลงในกระดาษคำตอบทุกแผ่น




ที่มา http://www.thaionline1.com/read.php?tid=5964

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น